วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
กิจกรรมต่างๆของศศช.บ้านแม่แก้
กิจกรรมต่างๆ
1 การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย แก่ ผู้ที่พลาดโอกาสในการศึกษา
2 การส่งเสริมการรู้หนังสือไทย แก่ผู้ไม่รู้หนังสือในชุมชน ให้สามารถอ่านออก เขียนได้
3 จัดการศึกษาด้านพัฒนาอาชีพและส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ
4 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
- กิจกรรมชุมชนน่าอยู่ หมู่บ้านสะอาดปลอดขยะ
- กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมหลัก ของคนไทย 12 ประการ
- กิจกรรม รักศศช. รักษ์โลก (สร้างฝายชะลอน้ำ)
- จัดโครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตชนเผ่า
5 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
- การใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน
6 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย
- บริการและส่งเสริมจุดรักการอ่าน
- กิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
- กิจกรรมพัฒนาศูนย์การเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนมีชีวิต
ชนเผ่าเมียน
เมี่ยน (Mien) หรือ เย้า (Yao)
ชาวเมี่ยน (เย้า) ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซี จีนเรียกขานว่า เย้า แปลว่า ป่าเถื่อน“เมี่ยน”เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า“อิ้วเมี่ยน” แปลว่ามนุษย์ การอพยพโยกย้าย ของเผ่าเมี่ยน 12 สกุล ลงมาทางใต้ประมาณศตวรรษที่ 15-16 เข้าสู่เวียดนาม ผ่านลาว และเข้ามาทางตอนเหนือของประเทศไทย เข้ามาอยู่ในประเทศไทยในราว 100 ปีเศษที่ผ่านมา
ศศช.บ้านแม่แก้
ความเป็นมาของ ศศช.บ้านแม่แก้
ศศช.บ้านแม่แก้ได้ก่อตั้งเป็นศูนย์การเรียนชุมชน เมื่อ ปี พ.ศ.2547 โดยใช้อาคารไม้เก่าชั้นเดียวของศูนย์ประชาสงเคราะห์เก่า ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ และงานเศรษฐกิจพอเพียงแก่คนในชุมชนบ้านแม่แก้ ซึ่งเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าเมี่ยน หรือเย้า ปัจจุบันบ้านแม่แก้ มีทั้งหมด 33 ครัวเรือน มีประชากร 138 คน มีนายวีระศักดิ์ แซ่จ๋าวเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และมีนายสมบูรณ์ ยอดมณีบรรพต เป็นครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนฯ บ้านแม่แก้ ตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา
ลักษณะชุมชนบ้านแม่แก้
ข้อมูลทั่วไป
หมู่บ้านแม่แก้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภองาว
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ดอน
มีภูเขาสูงอยู่ทางด้านทิศตะวันตก
และลาดลงมาทางด้านทิศตะวันออก
มีแม่น้ำแม่แก้ไหลผ่านกลางหมู่บ้าน ระยะทางจากหมู่บ้านถึงตัวอำเภองาว 25 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง 10
กิโลเมตร
และถนนดินลูกรัง 15 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1
ชั่วโมง
สภาพดินมีดินเหนียว ดินร่วนและดินลูกรัง มีไฟฟ้าเข้าไปถึงในหมู่บ้าน
แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค/บริโภค
คือ ลำน้ำแม่แก้ ใช้อาบและทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ โดยมีประปาภูเขา 2
สาย สายน้ำสำใช้อุปโภค และสายน้ำใช้บริโภคของชุนชน
ระบบการติดต่อสื่อสาร ไม่มีโทรศัพท์สาธารณะ และคลื่นสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ได้แก่ น้ำตกแม่แก้ และถ้ำราชคฤห์
ครูอาสาสมัครฯ ประจำ ศศช.บ้านแม่แก้
ประวัติการทำงาน
ปี
พ.ศ.
|
หน่วยงาน/สถานศึกษา
|
ตำแหน่ง
|
2554 – 2555
|
โรงเรียนวัดอำมาตย์วิทยา ตำบลเวียง อำเภอเทิง
จังหวัดเชียงราย
|
ครูผู้สอน
|
2555 – 2557
|
โรงแรมอีเกิ้ลเฮ้าส์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
|
|
2557 – ปัจจุบัน
|
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว จังหวัดลำปาง
|
ครูอาสาสมัครบนพื้นที่สูง (ศศช.)
|
ความมุ่งมั่นในการทำงาน
ข้าพเจ้า
นายสมบูรณ์ ยอดมณีบรรพต มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา
“แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่แก้ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านอ้อน อำเภองาว จังหวัด ลำปาง โดยการส่งเสริมให้ชุมชนมีการศึกษาในด้านต่างๆ
เช่น ส่งเสริมให้กลุ่มผู้ไม่รู้หนังสือมีโอกาสได้เรียนหนังสือให้สามารถอ่านออกเขียนได้
และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ที่พลาดโอกาสทางการศึกษา
ให้สามารถมีช่องทางในการศึกษาจนจบในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ มัธยมศึกษาตอนปลายให้มากขึ้น
และส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และภูมิปัญญาของชนเผ่า
รวมถึงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคม ชุมชน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และจัดการศึกษาตามอัธยาศัยแก่คนในชุมชน
เป็นต้น นอกจากนั้นจะมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชนร่วมกับผู้นำชุมชน
ภาคีเครือข่าย จะส่งเสริมให้คนบนพื้นที่สูงมีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและมีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์ และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้บนพื้นฐานของความพออยู่
พอกิน และยั่งยืนตลอดไป
ประวัติบ้านแม่แก้
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่แก้ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านอ้อน อำเภองาว จังหวัดลำปาง เป็นหย่อมบ้านของหมู่บ้านห้วยหก
ซึ่งประชากรทั้งหมดเป็นชาวเขา เผ่าเมี่ยน หรือ เย้า แต่เดิมอาศัยอยู่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ต่อมาได้อพยพมาอยู่ที่บ้านแม่ตาสามัคคี หมู่ที่ 5 ตำบลปงดอน อำเภอเจ้ห่ม จังหวัดลำปาง และประมาณปี
พ.ศ. 2510
ได้มีการมาล่าสัตว์ หาของป่า และได้พบที่ราบลุ่มที่อุดมสมบูรณ์
มีแม่น้ำแม่แก้ไหลผ่านตลอดปี เหมาะแก่การทำไร่ ทำนา ทำสวน
จึงได้ย้ายเข้ามาสร้างบ้านเรือนอยู่ในบริเวณนี้ ประมาณ 10 ครอบครัว โดยการนำของนายซ่าน แซ่ผงและได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านแม่แก้ตามชื่อของแม่น้ำแม่แก้ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 33 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 138 คน
และมีนายวีระศักดิ์ แซ่จ๋าวเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)