วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

แผนการปฏิบัติงาน ในปี งบประมาณ 2559


การทำงานของ ครู ศศช. จำเป็นต้องมีแผนงาน และเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อเป็นธงนำพาไปสู่เป้าหมายที่แน่นอน ซึ่งแผนปฏิบัติงานด้านล่างนี้ เป็นการกำหนดโครงการ กิจกรรม เป้าหมาย งบประมาณ และระยะเวลาที่จะทำ เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ สำหรับปีงบประมาณ 2559 นี้ ครับ

การศึกษาตามอัธยาศัย

การส่งเสริมการอ่าน อีกหนึ่งกิจกรรมที่ครูต้องส่งเสริมให้เกิดขึ้นในชุมชน บนพื้นที่สูง


ศศช.บ้านแม่แก้ ได้จัดบริการจุดส่งเสริมการอ่านในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนได้ติดตามข่าวสาร ข้อมูล ที่ทันเหตุการณ์ และได้สาระความรู้ เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต อันเป็นรูปแบบหนึ่งของการศึกษาตามอัธยาศัยของประชาชน






        ครูทำที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน โดยใช้เศษไม้ และเศษวัสดุเหลือใช้ในชุมชนมาทำ



                                พร้อมให้บริการ ข่าวสาร ที่ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน แก่ชุมชน
 




       การจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ เรื่องน่ารู้ สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ในศูนย์การเรียนฯ






ภายในศูนย์การเรียน ยังมีการบริการหนังสืออ่านนอกเวลา ตำราวิชาการ นิยาย และอื่นๆ ตามความสนใจ


การจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ภาพกิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์จาก กศน. และหน่วยงานภาคีเครือข่าย และสาระน่ารู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน\



วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผู้ไม่รู้หนังสือไทย


สอนผู้ไม่รู้หนังสือ

           บทบาทและภารกิจอย่างหนึ่งของครูอาสาสมัคร กศน.บนพื้นที่สูง หรือ ครู ศศช. นั้น คือการส่งเสริมการรู้หนังสือไทยสำหรับประชาชนผู้ขาดโอกาสในการเรียนหนังสือ ไม่สามารถอ่าน เขียน ภาษาไทยได้ ซึ่ง ศศช.บ้านแม่แก้ มีประชาชนที่ไม่สามารถอ่าน เขียนภาษาไทยจำนวนไม่น้อย ในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ วัยทำงาน และวัยรุ่นด้วย

      ซึ่งส่วนใหญ่จะสอนหนังสือให้ผู้ไม่รู้หนังสือ ในเวลากลางคืน เนื่องจากในช่วงกลางวัน ชาวบ้านมักจะติดภาระกิจ การงานในไร่ ในสวน ไม่สามารถมาเรียนได้














วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

แผนการปฏิบัติงาน

ตารางสรุปผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ ๒๕๕๘

ที่
งาน/โครงการ/กิจกรรม
เป้า
หมาย
เป้าที่ทำได้
พื้นที่ดำเนินการ
งบประมาณ(บาท)
ระยะเวลาดำเนินการ
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ศรช.บ้านแม่แก้
งบขั้นพื้นฐาน
ต.ค. – ก.ย.๕๘
การส่งเสริมการรู้หนังสือไทย
๓๒
๓๒
ศรช.บ้านแม่แก้
-
ต.ค. – ก.ย.๕๘
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
- การใช้สารเคมี

๑๐

๒๕

ศรช.บ้านแม่แก้

๒,๐๐๐

เม.ย. – มิ.ย.๕๘
การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
- ชุมชนน่าอยู่ หมู่บ้านสะอาดปลอดขยะ
- ค่านิยมหลัก ของคนไทย ๑๒ ประการ
- รักศศช. รักษ์โลก

๑๐
๑๐
๑๐

๑๘
๑๙
๒๐

ศรช.บ้านแม่แก้
ศรช.บ้านแม่แก้
ศรช.บ้านแม่แก้

๒,๐๐๐
๑,๐๐๐
๒,๐๐๐

ม.ค.-มี.ค.๕๘
ม.ค.- ก.พ. ๕๘
เม.ย.-ก.ย.๕๘
5
การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
  - ปลูกผักปลอดภัย

๑๐

๑๓

ศรช.บ้านแม่แก้

๑,๐๐๐

ม.ค.-มี.ค. 58


การศึกษาตามอัธยาศัย
-ส่งเสริมการอ่าน
-ที่อ่านหนังสือในชุมชน
-กิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
-กิจกรรมพัฒนาศูนย์การเรียน

๕๐
๑ แห่ง
๖๕
๑ แห่ง

๕๐
๑ แห่ง
๖๕
๑ แห่ง

ศศช.บ้านแม่แก้
ศรช.บ้านแม่แก้
ศรช.บ้านแม่แก้
ศรช.บ้านแม่แก้

๑,๐๐๐+
( ๑,๐๐๐)
๒,๐๐๐
๕,๐๐๐

ต.ค.๕๗ –ก.ย.๕๘
ต.ค.๕๗ –ก.ย.๕๘
ธ.ค.๕๗ –ธ.ค.๕๘
ต.ค. ๕๗ –ก.ย.๕๘
กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า
๒๐ คน
๒๐คน
ศรช.บ้านแม่แก้
๕,๐๐๐+(๑,๐๐๐)
เม.ย. ๕๘
รวม
๒๒๐
๒๖๕

๒๓,๐๐๐




วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พิธีกั่วตั้ง

พิธีกั่วตั้ง หรือพิธีบวช

พิธีกั่วตั้ง หมายถึง พิธีแขวนตะเกียง 3 ดวง เป็นพิธีที่สำคัญ เพราะถือว่าเป็นการสืบทอดตระกูลและเป็นการทำบุญให้บรรพบุรุษด้วย ในการประกอบพิธีกั่วตั้งนี้ จะต้องนำภาพเทพเจ้าทั้งหมดมาแขวน เพื่อเป็นสักขีพยานว่าบุคคลเหล่านี้ได้ทำบุญแล้ว และจะได้ขึ้นสวรรค์เมื่อเสียชีวิตไป จุดสำคัญของพิธีนี้คือการถ่ายทอดอำนาจบุญบารมีของอาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งในขณะทำพิธีนี้ จะมีฐานะเป็นอาจารย์(ไซเตี๋ย) พิธีกรรมนี้เป็นประเพณีวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชนเผ่าเมี่ยนที่ยังคงมีการอนุรักษ์สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งผู้ชายเมี่ยนทุกคนล้วนต้องผ่านพิธีนี้ แต่ลักษณะการจัดงานยิ่งใหญ่หรือแบบเรียบง่ายขึ้นอยู่กับฐานะของครอบครัว พิธีนี้โดยทั่วไปนิยมทำกันหลายๆคนในตระกูลเดียวกัน ที่อยู่ในรุ่นเดียวกันเพื่อเป็นการประหยัดไปด้วย เพราะการจัดพิธีนี้ต้องใช้หมู่ ไก่ และสิ่งของอื่นๆ จำนวนมาก และการจะจัดได้ต้องขึ้นอยู่กับราศี ปี ช่วงเวลาที่ลงตัวของตระกูลหรือแซ่นั้น ซึ่งหมอผีจะเป็นผู้ดูชะตาราศรี และกำหนดวันเวลา บางตระกูลต้องรอ 4-5 ปี ถึงจะถึงเวลาที่เหมาะสม



กิจกรรมต่างๆของศศช.บ้านแม่แก้

กิจกรรมต่างๆ

1 การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย แก่    ผู้ที่พลาดโอกาสในการศึกษา

2 การส่งเสริมการรู้หนังสือไทย แก่ผู้ไม่รู้หนังสือในชุมชน ให้สามารถอ่านออก เขียนได้

3 จัดการศึกษาด้านพัฒนาอาชีพและส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
      - ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ


4 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
        - กิจกรรมชุมชนน่าอยู่ หมู่บ้านสะอาดปลอดขยะ
       - กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมหลัก ของคนไทย 12 ประการ
       - กิจกรรม รักศศช. รักษ์โลก (สร้างฝายชะลอน้ำ)

   



  - จัดโครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตชนเผ่า
5 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
- การใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน



6 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย
 - บริการและส่งเสริมจุดรักการอ่าน
 - กิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
 - กิจกรรมพัฒนาศูนย์การเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนมีชีวิต










ชนเผ่าเมียน

เมี่ยน (Mien) หรือ เย้า (Yao)

 ชาวเมี่ยน (เย้า) ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซี จีนเรียกขานว่า เย้า แปลว่า ป่าเถื่อน“เมี่ยน”เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า“อิ้วเมี่ยน” แปลว่ามนุษย์  การอพยพโยกย้าย ของเผ่าเมี่ยน 12 สกุล ลงมาทางใต้ประมาณศตวรรษที่ 15-16 เข้าสู่เวียดนาม ผ่านลาว และเข้ามาทางตอนเหนือของประเทศไทย   เข้ามาอยู่ในประเทศไทยในราว 100 ปีเศษที่ผ่านมา


ศศช.บ้านแม่แก้

ความเป็นมาของ ศศช.บ้านแม่แก้


ศศช.บ้านแม่แก้ได้ก่อตั้งเป็นศูนย์การเรียนชุมชน เมื่อ ปี พ.ศ.2547  โดยใช้อาคารไม้เก่าชั้นเดียวของศูนย์ประชาสงเคราะห์เก่า  ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ และงานเศรษฐกิจพอเพียงแก่คนในชุมชนบ้านแม่แก้ ซึ่งเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าเมี่ยน หรือเย้า ปัจจุบันบ้านแม่แก้ มีทั้งหมด 33 ครัวเรือน มีประชากร 138 คน มีนายวีระศักดิ์ แซ่จ๋าวเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และมีนายสมบูรณ์ ยอดมณีบรรพต เป็นครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนฯ บ้านแม่แก้ ตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา